วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

เพื่อน

www.mememejung.blogspot.com


www.tiruk15.blogspot.com

www.Jukduy.blogspot.com

www.nittaya13.blogspot.com

www.nutsba.blogspot.com

www.Patama13.blogspot.com

www.newyear7134.blogspot.com

www.Dajung2010.blogspot.com

www.poopae555.blogspot.com

www.Zoo-Ruk.blogspot.com

www.praputson2.blogspot.com

www.Namtho999.blogspot.com

www.Santan9899.blogspot.com

www.Swlkksanpui.blogspot.com

www.apisit-loveyou.blogspot.com

www.Koonstitchclub.blogspot.com

www.Thaicok.blogspot.com

www.Tangtonnalove.blogspot.com

www.Pimpakk486.blogspot.com

www.petchai222.blogspot.com

www.kimhyonjung.blogspot.com

www.surut16.blogspot.com

www.forgetmenot_fernway.blogspot.com

www.sorry-lin.blogspot.com

www.Mintra-abnormal.blogspot.com

www.DowandMok.blogspot.com

www.Cheesekra.blogspot.com

www.AE andtama.blogspot.com

www.pigred.blogspot.com

www.blogspot.com

www.tukinpo.blogspot.com

www.Toulex5.blogspot.com

www.loypila.blogspot.com

www.kapook16.blogspot.com

www.Mayrrhung.blogspot.com

www.Bigbody11.blogspot.com

ลีลาวดี

ลีลาวดี (Frangipani, Plumeria): ไม้ดอกไม้ประดับ


ลีลาวดี หรือ ลั่นทม (Frangipani, Plumeria, Templetree) เป็นไม้ดอกยืนต้นในสกุล Plumeria มีหลายชนิดด้วยกัน เมื่อก่อนบางคนมีความเชื่อว่า ไม่ควรปลูกต้นลั่นทมในบ้าน เนื่องจากมีชื่อเป็นอัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า 'ระทม' ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ แต่ปัจจุบันนิยมเรียกชื่อใหม่ ว่า ลีลาวดี และนิยมปลูกกันแพร่หลายอย่างมาก ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ได้แก่ จำปา, จำปาลาว และจำปาขอม เป็นต้น

ลีลาวดี เป็นไม้ที่นำมาจากเขมร ทางภาคใต้ เรียกชื่อว่า "ต้นขอม" "ดอกอม" เล่ากันว่า ไม้นี้นำเข้ามาปลูกในไทย เมื่อคราวไปตีนครธม ได้ชัยชนะ นำต้นไม้นี้เข้ามาปลูก และเรียกชื่อเป็นที่ระลึกว่า "ลั่นธม" "ลั่น" แปลว่ ตี เช่น ลั่นฆ้อง ลั่นกลอง "ธม" หมายถึง "นครธม" ภายหลัง "ลั่นธม" เพี้ยนเป็น "ลั่นทม"

ลีลาวดี เป็นพืชนิยมปลูกเพราะดอกมีสีสันหลากหลาย สวยงาม ได้แก่ขาว เหลืองอ่อน แดง ชมพู ฯลฯ บางดอกมีมากกว่า 1 สี

ลีลาวดี เป็นไม้ประดับที่มีผู้สนใจปลูกกันอย่างมากในช่วงระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากติดใจในความงามของทรงต้น ใบ และดอกที่มีหลากสีสัน โดยเมื่อนำมาปรับปรุงพันธุ์แล้วจะได้สีที่แปลกใหม่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งดอกยังมีกลิ่นหอม อีกประการหนึ่งคือลีลาวดีเป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว การดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก อีกทั้งมีคุณสมบัติใช้เป็นสมุนไพร

ในอดีตไม้ชนิดนี้จะไม่นิยมปลูกในบ้านเรือนเลย เพราะเนื่องจากความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับความหมายของชื่อเดิมคือ “ลั่นทม” ทำให้ลั่นทมมีปลูกไว้เฉพาะในวัด และตามโบราณสถานต่าง ๆ ในช่วงระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมาหลังจากเป็นที่รู้จักและคุ้นหูในนามของ “ลีลาวดี” เพียงเท่านี้ต้นลีลาวดีก็เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก โดยเฉพาะในการจัดภูมิทัศน์และจัดสวนทั้งสวนในบ้าน บริเวณตึก อาคาร รีสอร์ท สถานที่ท่องเที่ยว และสถานที่ต่าง ๆ นอกจากนี้ปัจจัยหนุนสำคัญที่ทำให้ความต้องการลีลาวดีขยายตัวคือ การขยายตัวของธุรกิจสปา ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ว่าในสถานประกอบการ สปานั้นนิยมนำดอกลีลาวดีมาเป็นไม้ประดับ เนื่องจากความสวยงามของรูปทรง สีสันและกลิ่นหอมเย็น

ด้วยราคาที่สูงอย่างต่อเนื่องของลีลาวดี ทำให้มีเกษตรกรจำนวนมากหันมาปลูกลีลาวดีเพื่อการค้ากันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เนื่องจากลีลาวดีต้นใหญ่นั้นหาได้ยากขึ้น ซึ่งเกษตรกรที่มีต้นลีลาวดีทั้งต้นใหญ่ กิ่งชำ และเมล็ด ก็จะมีลูกค้าไปติดต่อขอซื้อกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำให้แก่เกษตรกร

ในสมัยก่อน มีต้นลั่นทมเพียง 2 สายพันธุ์คือ

1. ลั่นทมขาว อย่างที่เห็นกันตามวัดวาอาราม ลั่นทมขาวจะชอบแดด มีความสูงตั้งแต่ 3 - 7 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านดูอวบ มีสีน้ำตาลปนเทา เป็นใบเดี่ยวรูปคล้ายหอก ยาว 20 - 30 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่ง ดอกมีสีขาวรูปกรวย มีกลีบดอก 5 กลีบ จะมีกลิ่นหอมมาก มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศเม็กซิโก

2. ลั่นทมแดง ทุกอย่างจะเหมือนลั่นทมขาว ยกเว้นใบ ที่บางครั้ง จะออกสีเขียวเข้ม ดอกมีสีแดงทั้งดอก ก้านออกเป็นสีม่วงแดง ดอกมีกลิ่นหอม ทั้งสองชนิดมีอายุยืน ตั้งแต่ 50 ถึง 100 กว่าปี



ดอกลีลาวดี ยังเป็นดอกไม้ประจำชาติ ของประเทศลาว โดยส่วนมากจะขึ้นอยู่ตอนเหนือของประเทศ ไทยทางขึ้นพระธาตุที่เมืองหลวงพระบาง

มะกรูด


ชื่อสามัญ : Porcupine Orange, Kiffir Lime, Leech Lime


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus hystrix DC.

ชื่อท้องถิ่น : มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ) มะหูด (หนองคาย) ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้) โกรยเซียด (เขมร) มะขู (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะ

มะกรูดเป็นพืชที่ใช้เป็นเครื่องเทศมานานแล้ว โดยใช้ผิวของผล เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงหลายชนิด ใช้เข้าเครื่องหอมโดยเป็นส่วนผสม

ในเทียนอบ ใบมะกรูดมีกลิ่นหอมใช้แต่งกลิ่นในอาหารคาวหลายชนิดเช่น ต้มยำ แกงเผ็ด น้ำมะกรูดใช้ปรุงอาหารเพื่อให้มีรสเปรี้ยวและดับกลิ่น

คาวปลาคนโบราณนิยมสระผมด้วยน้ำมะกรูด เพราะช่วยให้ผมดำเป็นมัน ไม่แห้งกรอบ คนไทยนิยมปลูกมะกรูดไว้ตามบ้านและในสวน มะกรูด

เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก ใบมีกลิ่นหอม ผลค่อนข้างกลม ผิวขรุขระมีปุ่มนูน และมีจุกที่หัวของผล ส่วนที่ใช้ คือ ใบและผล


ส่วนที่ใช้

ผล ผิวของผล น้ำของผล ใบ และราก

สารสำคัญ
ในใบและผลมะกรูด เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำจะให้น้ำมันหอม ระเหยในปริมาณ 0.08 % และ4 % ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหยจากผิว

มะกรูดมักประกอบด้วยเบต้า-ไพนีน, ไลโมนีนและซาบินีน เป็นสารหลัก ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากใบจะประกอบด้วย ซีโทรเนลลาล,

ไอโซพูลิโกล และไลนาลูออล เป็นสารหลัก ส่วนในน้ำมะกรูดมีกรดซิตริก ไวตามินซี และกรดอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบ

คุณสมบัติ

ใช้เป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่าง ๆ คือ น้ำในผลแก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร น้ำมะกรูดใช้ดองยา เพื่อใช้ฟอกเลือด และบำรุงโลหิตสตรี เนื้อของผลใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ใบมะกรูดใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด ผลมะกรูดที่คว้านไส้ออกนำมหาหิงส์ใส่แทนใช้เป็นยาขับลมแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน
ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมและเครื่องสำอางค์ต่าง ๆ

กรด Citric ช่วยขจัดคราบสบู่ (ด่าง) ที่หลงเหลืออยู่ ทำให้ผมหวีง่าย น้ำมันจากผิวมะกรูดช่วยให้ผมดกเป็นเงางาม

ใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร ในดับกลิ่นคาวของอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงต่าง ๆ (รุ่งรัตน์, 2535)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

มะกรูดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ต้นสูง 2 – 8 เมตร ประกอบไปด้วย

ใบ มีใบย่อยเพียงใบเดียว ใบค่อนข้างหนา มีสีเขียวแก่ มีกลิ่นหอม

ดอกมีสีขาว ออกเดี่ยวๆ อยู่เป็นกระจุก 3-5 ดอก กลีบดอกร่วงง่าย

ผล เป็นผลเดี่ยวค่อนข้างกลม บางพันธุ์มีผิวขรุขระ มีจุกที่หัวผล (เชษฐา, 2525)

สรรพคุณทางยา

ขับลมแก้จุกเสียด

วิธีใช้

ตัดจุกผลมะกรูด คว้านไส้กลางออก เอามหาหิงส์ใส่แล้วปิดจุก นำไปเผาไฟจนดำเกรียม บดเป็นผงละลายกับน้ำผึ้งรับประทาน จะช่วยขับลม แก้ปวดท้องหรือป้ายลิ้นเด็กอ่อน เป็นยาขับขี้เทาได้

น้ำมะกรูดใช้ถูกฟัน แก้เลือดออกตามไรฟัน

เอาผลมะกรูดมาดอง เป็นยาดองเปรี้ยวรับประทานขับลมขับระดู

เปลือกผลฝานบาง ๆ ชงน้ำเดือดใส่การะบูรเล็กน้อย รับประทานแก้ลมวิงเวียน

เปลือกฝนใช้ผสมในเครื่องสำอางบางชนิด เช่น แชมพู สบู (เชษฐา, 2525)

ขนาดการใช้และผลที่ได้รับจากการรักษาโรค

แก้ลม บำรุงหัวใจ ใช้ผิวสดหั่นเป็นชิ้น ผสมการะบูรหนึ่งหยิบมือ ชงน้ำเดือด คนให้ละลาย ปิดฝาทิ้งไว้ 3 – 5 นาที ดื่มเอาแต่น้ำ ช่วยให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดี

ยาขับเสมหะ แก้ไอ ใช้ผลมะกรูดผ่าซีกเติมเกลือ ลนไฟให้เปลือกนิ่ม บีบน้ำมะกรูดลงในคอทีละน้อย ๆ

เป็นยาสระผม หรืออาบ นำมะกรูดผ่าซีกลงในหม้อ ต้มอาบได้น้ำมันหอมระเหยอยู่บนผิว ทำให้ผิวไม่แห้ง และรสเปรี้ยวของมะกรูดช่วยให้อาบสะอาด นอกจากนี้ใช้มะกรูดผ่าซีกเอาน้ำมาสระผม
เครื่องปรุง


เนื้ออกไก่ หั่นชิ้นพอคำ 150 กรัม

พริกแกงเผ็ด 1 ช้อนโต๊ะ

ถั่วฝักยาว 150 กรัม

พริกชี้ฟ้า หั่นชิ้น 3 เม็ด

ใบมะกรูดหั่นฝอย 4 ใบ

กระเทียมสับ 1 หัว

ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ

น้ำตาล 2 ช้อนชา



วิธีทำ

1. ตั้งกระทะ ไฟปานกลาง เจียวกระเทียมให้พอหอม ใส่ไก่ที่หั่นไว้ลงผัดให้สุก เติมพริกแกงเผ็ดและน้ำสะอาดลงไปนิดหน่อย ผัดให้เข้ากัน (ควรชิมเพราะพริกแกงเผ็ดแต่ละแห่งมีความเผ็ดและความเค็มไม่เท่ากัน หากไม่เผ็ดพอให้เติมพริกแกงเพิ่ม)

2. เติมถั่วฝักยาวลงผัด แล้วเติมซีอิ๊วขาวและน้ำตาล ผัดให้เข้ากัน แล้วเติมพริกและใบมะกรูดหั่นฝอย ผัดพอเข้ากัน เสิร์ฟ



หมายเหตุ

- ถ้าหากอยากให้มีรสเผ็ดของพริกชี้ฟ้าให้นำลงผัดกับกระเทียม

- สามารถเติมน้ำลงไปอีกหากชอบรับประทานแบบขลุกขลิก และให้ชิมรส ปรุงรสเพิ่ม